สั่งคอมพิวเตอร์ด้วยคลื่นสมอง
Home
Contents
Articles
Quiz
Members
Sponsor
Print-friendly
MENU
ปรับปรุง : 2566-10-26 (ปรับรูปแบบ)
# 283 สั่งคอมพิวเตอร์ด้วยคลื่นสมอง
ปัจจุบันการสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานจะใช้มือพิมพ์มีถึงร้อยละ 99 เพราะมีความถูกต้องแม่นยำสูงที่สุด มีการพัฒนาการรับข้อมูลหรือสั่งงานคอมพิวเตอร์ด้วยเสียง (Sound Recognition) มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี แต่ข้อจำกัดในความไม่แน่นอนของเสียงทำให้การสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยเสียงยังไม่เป็นที่นิยม หรือพูดแล้วให้คอมพิวเตอร์แปลงข้อความเสียงเป็นตัวอักษรในไมโครซอฟท์เวิร์ด (Microsoft Word) ก็ยังมีข้อผิดพลาดอยู่มากขณะแปลงเป็นตัวอักษร แต่ถ้ารับตัวเลขที่มีเพียง 10 ตัว คือ 0 ถึง 9 ก็จะรับข้อมูลได้ถูกต้องกว่าข้อความทั่วไป เพราะความถี่ของเสียงตัวเลขแต่ละตัวมีความแตกต่างกันชัดเจน และมีจำนวนไม่มาก ซึ่งต่างกับข้อความทั่วไป เช่นคำว่า sort หรือ source ที่พูดแล้วเครื่องคอมพิวเตอร์อาจตีความต่างไปจากที่ตั้งใจ
การพัฒนาให้คอมพิวเตอร์รับคำสั่งด้วยคลื่นสมองเป็นแนวคิดที่มีให้เห็นในภาพยนตร์ แต่ในงาน CeBIT 2011 ซึ่งเป็นงานนำเสนอผลงานด้านอุตสาหกรรมดิจิทอลที่ใหญ่ที่สุด ระหว่าง 1 - 5 มีนาคม 2554 ณ รัฐฮาโนเวอร์ ประเทศเยอรมนี มีการนำเสนออุปกรณ์ที่ชื่อ Intendix โดย Guger Technologies ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ผู้ใช้สามารถพิมพ์ข้อความบนคอมพิวเตอร์โดยใช้สมอง ด้วยการใช้อุปกรณ์อ่านคลื่นสมอง (EEG : Electroencephalography) พัฒนาขึ้นเพื่อจำหน่ายเป็นเครื่องแรกของโลกสำหรับผู้พิการทางร่างการหรือเป็นอัมพาต อุปกรณ์ประกอบด้วยหมวกอิเล็กโตรด หน้าจอแสดงผลตัวอักษรที่กระพริบตลอดเวลา อุปกรณ์ขยายคลื่นสมอง และซอฟท์แวร์ควบคุมการทำงาน การใช้งานนั้นผู้ใช้ต้องมีสมาธิ และคอมพิวเตอร์จะจดจำรูปแบบคลื่นสมองกับตัวอักษรที่เลือก หากระบบซอฟท์แวร์จดจำรูปแบบคลื่นสมองได้แล้ว จะสามารถพิมพ์ตัวอักษรตามความนึกคิดของผู้ใช้ได้ด้วยความเร็ว 5 - 10 ตัวอักษรต่อนาที
ทางเลือกในการรับข้อมูลจากผู้ใช้นอกจากใช้มือแล้วก็ยังมีเทคโนโลยีอื่นที่ยังอยู่ในระหว่างพัฒนา ข้อจำกัดของการรับคำสั่งด้วยคลื่นสมอง คือ ความเร็วในการพิมพ์ตัวอักษรที่พบจากคลิปสาธิตการใช้งาน พบว่าหากต้องการพิมพ์อีเมลความยาว 250 คำอาจต้องใช้เวลาหลายสิบชั่วโมง เมื่อเปรียบเทียบกับระบบสั่งพิมพ์ด้วยวิธีกระพริบตาสำหรับผู้พิการก็อาจใช้เวลาหลายวันกว่าจะได้อีเมลหนึ่งฉบับ แต่ทั้งสองเทคโนโลยีเป็นความพยายามสร้างโอกาสให้กับผู้พิการ และเป็นทางเลือกใหม่ของมนุษย์ในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ ก็ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้พัฒนาทุกคนที่กำลังพัฒนาอยู่ในขณะนี้ และก็หวังว่าสักวันหนึ่งคอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องมีแป้นพิมพ์วางอยู่หน้าเครื่อง เป็นความฝันว่าคนจะพูดคุยกับคอมพิวเตอร์รู้เรื่อง หรือแค่คิดคอมพิวเตอร์ก็เข้าใจและปฏิบัติงานได้ทันที
บทความเมื่อเร็ว ๆ นี้
284.
ภาพยนตร์ 2012 กับหายนะวันนี้
283.
สั่งคอมพิวเตอร์ด้วยคลื่นสมอง
282.
ทันโลกทันเหตุการณ์
281.
วิวัฒนาการด้านการสื่อสาร
ค้นในบทความ
กลับหน้าแรก
ใช้เวลาโหลดเว็บเพจ: 627 มิลลิวินาที สูง: 1660 จุด กว้าง: 1264 จุด
"ไม่เริ่มต้นในวันนี้ จะไม่มีทางสำเร็จในวันพรุ่ง" โดย โยฮัน ว็อล์ฟกัง ฟ็อน เกอเทอ
หน้าหลัก
Lampang.net
Thaiabc.com
Thainame.net
เปิดรับผู้สนับสนุนเพิ่ม
OS
MIS
SWOT
LINUX
Teach Pro.
SPSS
Business
Research
Online Quiz
Data Structure
จรรยาบรรณ
อันดับสถาบัน
ปฏิทินวันหยุด
วิทยาการคำนวณ
การจัดการความรู้
เกี่ยวกับเรา
สนับสนุนเรา
Products
FB : @Thaiall
Blog : เทคโนโลยี
Thaiall.com
Truehits.net